วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันรัฐธรรมนูญ
 ตรงกับวันที่๑๐ ธันวาคมของทุกปี ประวัติรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ธันวาคม

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประ เทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูง สุดของประเทศ

๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

       ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก   ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

       ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

       ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร    

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการ ปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่ว คราว สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของ ราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

       ๑. พระมหากษัตริย์

       ๒. สภาผู้แทนราษฎร

       ๓. คณะกรรมการราษฎร

       ๔. ศาล


ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบัน ที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติ ออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมา ภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลง การปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา  ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์  ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนรัฐสภา  ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่า นั้น   แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย  แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบ กันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้   หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมี ผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่   พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ แต่ถ้านับ เฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง ๑๓ ฉบับดังนี้

       ๑. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ประกาศใช้บังคับ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๕ เดือน ๑๓ วัน

       ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑๓ ปี ๕ เดือน

       ๓. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ประกาศและบังคับใช้  เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ ๑ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน

       ๔. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศใช้ ๑ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

       ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒  รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี ๘ เดือน ๖ วัน

       ๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ประกาศและบังคับใช้ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ รวมอายุและประกาศบังคับใช้ ๖ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน

       ๗. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๙ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๓ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๙. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๙ เดือน ๒๒ วัน

       ๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี

     ๑๑. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙  ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี

     ๑๒. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๑๓ วัน

     ๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๒๘)

     ๑๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

     ๑๗. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว)

   ๑๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา   ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร  สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทย ใ นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา    ได้มีการประก าศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และ โ ดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่ างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ   โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ  ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราช และความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของ ชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน   ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไก สถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็น ชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประ ชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม  ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙  ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํ ารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการเทอญ
กิจกรรม
มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม  ทุกปีสืบมา  งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการ วางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และจะมีการประดับธงชาติบริเวณ อาคารบ้านเรือน

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกอัน เป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด   วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

                                                    คดีปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ. 2550

คดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2451 ประเทศฝรั่งเศสมีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขากัมพูชา ได้ทำสัญญากับราชอาณาจักรสยามอยู่หลายฉบับ แต่มีสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้ คือ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 มีความตกลงอยู่ว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักบันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น[2]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทางการสยามได้ขอให้ทางฝรั่งเศสทำแผนที่พรมแดน ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของราชอาณาจักรสยาม ไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชาของทางฝรั่งเศสด้วย โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ (แผนที่นี้ต่อมาเรียกว่า "แผนที่ผนวก 1" (Annex I map) )
กระนั้น สยามไม่ได้คัดค้านแผนที่นั้นภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลย แม้จะไม่ได้แสดงการยอมรับ แต่ก็ไม่ได้ทำการคัดค้านว่าแผนที่ฉบับที่มีปัญหานั้นไม่ถูกต้อง ท่านเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ตรัสขอบใจราชทูตฝรั่งเศสผู้นำส่งแผนที่นั้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ทำการทักท้วง[2] ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2452 โดยใช้แผนที่ผนวก นี้เป็นหลัก ก็ไม่มีผู้คัดค้าน
ปี พ.ศ. 2468 มีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส โดยมีการอ้างอิงถึงเขตแดนดังกล่าว และในการเจรจาสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว[2] นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร โดยมีผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสรับเสด็จในฐานะทรงเยือนจังหวัดหนึ่งของกัมพูชา[2] แม้ในระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 มีการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเส้นพรมแดนในแผนที่และแนวสันปันน้ำจริง และได้มีการทำแผนที่อื่น ๆ ซึ่งแสดงว่าปราสาทดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรสยาม แต่สยามยังคงใช้และจัดพิมพ์แผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารตั้งอยู่ในกัมพูชาต่อไป[2] เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)
ปี พ.ศ. 2501 หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จึงเริ่มมีข้อขัดแย้งเรื่องเขตแดนรอยต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา จนกระทั่งเจ้านโรดมสีหนุ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาขณะนั้น นำเรื่องขึ้นเสนอสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้แผนที่ผนวก เป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งแม้เส้นเขตแดนบนแผนที่จะไม่ได้ใช้สันปันน้ำเป็นเกณฑ์ แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยถูกคัดค้านจากรัฐบาลสยามและไทยมาก่อน
ดังนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9ต่อ นอกจากนั้นยังตัดสินด้วยคะแนนเสียง ต่อ ให้ประเทศไทยส่งคืนโบราณวัตถุที่นำออกมาจากปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่
คําพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ต่อคดีตีความข้อพิพาทบนปราสาทพระวิหาร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน แบ่งออกเป็น ส่วน ดังนี้

ส่วนแรก เป็นข้อปฏิบัติการ เป็นส่วนของคำพิพากษาที่ผูกพันคู่กรณี ซึ่งมี ข้อ 1.ศาลลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าศาลมีอำนาจตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาลโลก เพื่อพิจารณาคำขอตีความคำพิพากษาเมื่อปี ค.ศ.1962 ของประเทศกัมพูชา และคำขอนี้รับฟังได้ 2.ศาลได้ชี้ขาดเป็นเอกฉันท์ โดยอาศัยการตีความคำพิพากษา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ว่า คำพิพากษาดังกล่าว ศาลได้ตัดสินว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดนทั้งหมดของยอดเขาพระวิหาร 

ดังที่นิยามไว้ใน วรรค 98 ของคำพิพากษานี้ และโดยเหตุนี้ ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนทหาร ตำรวจ หรือผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลของไทย ที่ส่งไปประจำอยู่ที่บริเวณนั้น

สำหรับคำว่า "ยอดเขา" เป็นคำแปลชั่วคราว ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Promontory" ซึ่งที่คำแปลชั่วคราวว่า ยอดเขาก็เพราะยังหาคำที่เหมาะสมที่สุดไม่ได้ แต่สื่อมวลชนและผู้เชี่ยวชาญบางคนใช้คำว่า "ชะง่อนผา" ในชั้นนี้ ทางคณะทีมกฎหมายจะรับไปพิจารณาต่อไป แต่ทั้งนี้ ยังไม่ระบุใช้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องขออนุญาตใช้คำว่า "ยอดเขา" ไปก่อน อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตด้วยว่า ในคำแถลงของผู้พิพากษาชาวญี่ปุ่น ชาวโมร็อกโก และอินเดีย ที่ระบุถึงวรรค 98 ไว้ ซึ่งเป็นหมายความว่า วรรค 98 เป็นส่วนหนึ่งของส่วนที่ตัดสินซึ่งผูกพันกับคู่กรณีด้วย

ส่วนที่สอง เป็นคำพิพากษาที่เป็นเหตุผล มีทั้งหมด ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 วันที่ข้อพิพาทปรากฏชัด โดยศาลเห็นว่าข้อพิพาทปรากฏชัดในช่วงปี พ.ศ.2550-2551 ซึ่งศาลฟังคำต่อสู้ของฝ่ายไทย

ประเด็นที่ 2 เขตอำนาจศาล แบ่งออกเป็น ส่วน คือ 1.มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีหรือไม่ เกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ซึ่งศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทจริง ในชั้นนี้ ศาลชี้แจงไว้ว่า ตัวบทที่เป็นภาษาฝรั่งเศสตามข้อ 60 ของธรรมนูญศาลโลก ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษคือว่า "Dispute"หรือแปลเป็นไทยคือ "ข้อพิพาท" นั้นมีความหมายกว้างกว่าคำเดียวกัน ตามข้อ 36 วรรค ของธรรมนูญศาลโลก ที่ว่าด้วยอำนาจศาลในกรณีปกติ ทำให้ต้องตีความกว้างกว่าคำว่า "Dispute" ในข้อ 36 วรรค นั่นเอง ดังนั้น ศาลจึงตัดสินว่าในกรณีนี้มีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีว่าด้วยขอบเขตหรือคำพิพากษา เมื่อปี 1962 ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาลฟังคำต่อสู้ของทางฝ่ายกัมพูชา อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ศาลใช้ ไม่ใช่เหตุผลของทางฝ่ายกัมพูชา เพราะเป็นเหตุผลของศาลเอง

2.ข้อพิพาทดังกล่าวอยู่ในประเด็นใดบ้าง ซึ่งศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทอยู่ ประเด็น คือ 1.คำพิพากษาในปี 1962 ศาลได้ตัดสินโดยมีผลผูกพันหรือไม่ ว่าเส้นบนแผนที่ 1:200,000 เป็นเขตแดนระหว่างคู่กรณีในบริเวณปราสาท 2.ประเด็นความหมายและขอบเขตของข้อความว่า บริเวณใกล้เคียงบนดินแดนของกัมพูชา 3.ประเด็นลักษณะของพันธกรณีของไทยที่จะต้องถอนกำลังตามวรรค ของข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษา เมื่อปี 1962 

ประเด็นที่ 3 คำขอของกัมพูชารับฟังได้หรือไม่ ศาลเห็นว่าคำขอของกัมพูชารับฟังได้ เพราะคู่กรณีมีความเห็นต่างกันในเรื่องของความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาเมื่อปี 1962 จึงมีความจำเป็นต้องตีความวรรค ของข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษาดังกล่าว รวมทั้งผลทางกฎหมายของสิ่งที่ศาลกล่าว เกี่ยวกับเส้นบนแผนที่ 1:200,000

ประเด็นที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างคำพิพากษาเมื่อปี 1962 ที่เป็นเหตุผล และในส่วนของที่เป็นข้อบทปฏิบัติการ ศาลยืนยันหลักการตามแนวคำพิพากษาของศาลที่มีอยู่ว่า จะตีความส่วนที่เป็นเหตุผลได้ก็ต่อเมื่อส่วนนั้นแยกไม่ได้จากส่วนข้อบทปฏิบัติการ แต่ศาลไม่ได้ชี้ขาดในประเด็นนี้ เพียงแต่ระบุว่า ศาลจะพิจารณาส่วนที่เป็นเหตุผลของคำพิพากษาเมื่อปี 1962 เท่าที่ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการตีความที่ควรจะเป็นของส่วนข้อบทปฏิบัติการเท่านั้น

ประเด็นที่ 5 วิธีการทั่วไปของการตีความ ดังนี้ 1.ในการตีความศาลจะต้องเคารพและอยู่ในขอบเขตของสิ่งที่เรียกที่ได้รับการตัดสินในคำพิพากษาที่ตีความ กล่าวคือจะต้องเคารพขอบเขตที่ได้รับการตัดสินในคำพิพากษา ในเมื่อปี 1962 2.ศาลไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเองอยู่ในข้อต่อสู้ของคู่กรณี ซึ่งศาลอาจหาเหตุผลมาแทนได้ 3.คำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจาของคู่กรณีในคดีเดิม 

จำต้องมาพิจารณาในการตีความ ก็จะทำให้เห็นว่าคู่กรณีได้เสนอหลักฐานใดต่อศาล และตั้งประเด็นต่อศาลอย่างไร 4.ในการตีความศาลมีดุลพินิจจำกัดอยู่ภายในขอบเขตของคำขอของคู่กรณีในคดีเดิมตามที่ศาลเข้าใจ และศาลในวันนี้ไม่สามารถวินิจฉัยขอบเขตอำนาจนี้ใหม่ได้ 5.คำสรุปย่อต้นคำพิพากษา ไม่สามารถนำมาร่วมการพิจารณาตีความได้ 6.ข้อเท็จจริงที่อยู่หลังคำพิพากษาและพฤติกรรมของคู่กรณีหลังคำพิพากษา ในปี1962 ไม่อาจนำมาตีความในการพิจารณาคำพิพากษาดังกล่าวได้

ประเด็นที่ 6 เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลตีความ ดังนี้ 1.ศาลตีความว่า คำพิพากษาปี 1962 มีองค์ประกอบหลัก ประการ 1.ศาลในปี1962 ไม่ได้ตีความเรื่องเขตแดน ซึ่งศาลรับฟังข้อต่อสู้ของฝ่ายไทย 2.แผนที่ 1:200,000 มีบทบาทหลักในการให้เหตุผลของศาล ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลรับฟังข้อต่อสู้ของฝ่ายกัมพูชา อย่างไรก็ดี บทบาทหลักจำกัดเฉพาะในบริเวณพิพาทในกรณีเดิมเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาลรับฟังข้อต่อสู้ของฝ่ายไทย 3.อาณาบริเวณปราสาท หรือ region of the temple นั้นมีพื้นที่จำกัดมาก และศาลในปี 1962 ได้วินิจฉัยชี้ขาดเรื่องแผนที่ 1:200,000 เฉพาะในบริเวณพิพาทเท่านั้น แม้ว่าเส้นเขตแดนในพื้นที่ดังกล่าวจะยาวกว่า 100 กิโลเมตร ก็ตาม

โดยศาลได้ตีความในความหมายของส่วนของข้อปฏิบัติการเมื่อปี 1962 ศาลได้เริ่มต้นว่า ข้อบทปฏิบัติการในปี 1962 ทั้ง วรรคต้องนำมาพิจารณาพร้อมกันทั้งหมด โดยศาลได้ตีความในวรรค ว่า ความหมายของวรรค มีความชัดเจน เพราะชี้ขาดตามคำเรียกร้องหลักของกัมพูชาในคดีเดิมว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ภายในอธิปไตยของกัมพูชา

ส่วนในวรรค 2 ศาลได้ตีความโดยระบุดินแดนของกัมพูชาที่ไทยต้องถอนกำลังออก โดยอ้างอิงถึงบุคลากรของไทยที่ได้ส่งไปประจำอยู่ จึงต้องดูหลักฐานคดีเดิมว่ากำลังของไทยตั้งอยู่ที่ใด ซึ่งคำให้การของนายเฟรเดอริค อัครมัน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์สันปันน้ำ ในคดีเดิมเมื่อปี 2504 ซึ่งได้ชี้แจงระบุชัดเจนถึงที่ตั้งกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดน และอย่างน้อยศาลในวันนี้เห็นว่าบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทจะต้องรวมที่ตั้งของกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนไทยตามคำให้การดังกล่าว ซึ่งที่ตั้งนั้นอยู่ทิศเหนือของเส้นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2505 ซึ่งเป็นการกำหนดภายหลังคำพิพากษา ซึ่งอยู่ใต้เส้นเขตแดนบนแผนที่ 1:200,000 ดังนั้น เส้นมติ ครม.จึงไม่อาจเป็นขอบเขตของบริเวณใกล้เคียงตามความหมายวรรค 2ได้

อีกทั้งศาลในปี 1962 ตีความโดยการอภิปรายพื้นที่รอบปราสาท โดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก แต่ศาลในวันนี้ตีความว่า พื้นที่พิพาทในกรณีเดิมแคบและจำกัดอย่างชัดเจนด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ ในทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 

ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ส่วนทางทิศเหนือจำกัดโดยขอบเขตของดินแดนกัมพูชา ตามที่ศาลชี้ในส่วนของเหตุผลของคำพิพากษา เมื่อปี 1962 ส่วนบริเวณใกล้เคียงปราสาทศาลตีความว่า จำกัดอยู่เฉพาะยอดเขาพระวิหารเท่านั้น การตีความเช่นนี้ศาลได้ให้เหตุผลว่า 

1.พื้นที่บริเวณปราสาทไม่รวมภูมะเขือ เพราะภูมะเขือกับยอดเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์แยกออกจากกัน นอกจากนี้ ไม่มีพยานหลักฐานใดในคดีเดิมที่ชี้ว่ามีทหารไทยอยู่ที่ภูมะเขือในสมัยนั้นจริง ดังนั้น ศาลจึงสรุปว่าภูมะเขือไม่รวมอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทในคดีเดิม

นอกจากนี้ ศาลยังให้เหตุผลในการตีความเช่นนี้ว่า การตีความของกัมพูชาในปัจจุบันที่อ้างพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเส้น 1:200,000 กับเส้นสันปันน้ำตามที่ฝ่ายไทยเสนอ เมื่อศาลในปี 1962 ไม่ได้สนใจเรื่องสันปันน้ำว่าอยู่ที่ไหน จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลในวันนี้จะนึกถึงสันปันน้ำเป็นบริเวณใกล้เคียง 

ดังนั้น ศาลจึงสรุปว่า ศาลในปี 1962 เข้าใจว่าบริเวณใกล้เคียงบนดินแดนของกัมพูชาว่าจำกัดอยู่เพียงยอดเขาพระวิหารและพื้นที่ดังกล่าวจะต้องเล็ก แคบ และจำกัด ดังนั้น ศาลจึงชี้ขาดว่าไทยต้องถอนบุคลากรทั้งหมดออกจากดินแดนทั้งหมดของยอดเขาพระวิหาร ซึ่งอธิบายขอบเขตไว้ในวรรค 98 แต่ศาลไม่ได้แนบแผนที่ประกอบ จึงไม่มีเส้นให้เห็นได้ ซึ่งศาลรับทราบข้อต่อสู้ของไทย ว่าเป็นการยากที่จะถ่ายทอดเส้นบนแผนที่1:200,000 ลงบนพื้นที่จริง 

แต่ประเด็นนี้ศาลในปี 1962 ไม่ได้พิจารณา จึงอยู่นอกอำนาจศาลในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในปัจจุบันโดยสุจริต และการถ่ายทอดเส้นแผนที่ 1:200,000 ลงพื้นที่จริงได้ ไม่อาจดำเนินการฝ่ายเดียวได้

ส่วนประเด็นความเชื่อมโยงในวรรค 2 กับส่วนที่เหลือของข้อบทปฏิบัติการ ซึ่งศาลตีความว่า ดินแดนพื้นที่เล็กๆ ที่เป็นบริเวณใกล้เคียงตามวรรค 2ตามข้อบทปฏิบัติการในปี 1962 นั้นมีขนาดเท่ากับอาณาบริเวณในวรรค และมีขนาดเท่ากับในวรรค ของข้อบทปฏิบัติการ ซึ่งทั้งหมดมีขนาดเท่ากับยอดเขาพระวิหารที่ศาลได้อธิบายไว้วรรคที่ 98 ของคำพิพากษาฉบับปัจจุบัน

ประเด็นที่ 7 เป็นประเด็นที่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยมี ประเด็น คือ 1.ประเด็นว่าศาลในปี 1962 ได้กำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาโดยมีผลผูกพันหรือไม่ 2.พันธกรณีของการถอนกำลังทหารของไทยเป็นพันธกรณีต่อเนื่องตามความหมายของคำขอของกัมพูชาหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2ประเด็นนี้ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

ประเด็นที่ 8 ประเด็นที่ศาลระบุเพิ่มเติม โดยศาลระบุว่า ไทย-กัมพูชาต้องร่วมมือกัน อีกทั้งต้องร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อปกป้องปราสาทในฐานะที่เป็นมรดกโลก และจำเป็นต้องให้มีทางเข้าปราสาทจากที่ราบในฝั่งกัมพูชา

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งประเทศ มาเลเซีย ปี 2556


การเลือกตั้งประเทศ มาเลเซีย ปี 2556
ประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12 จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวัก) หลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน
พรรครัฐบาล แนวร่วมแห่งชาติ (BN) ที่ครอบงำโดยพรรคอัมโนของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ได้รับเสียงข้างมาก แม้พรรคปากาตัน รักเกียตที่ตั้งโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านสามพรรค จะได้รับเสียงจากประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะที่นั่งมิได้จัดสรรตามสัดส่วน แต่ในระดับเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (first-past-the-post system) อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้านมีที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่พรรครัฐบาลเสียที่นั่งเล็กน้อย
ทั้ง 222 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
และทั้ง 505 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติรัฐใน 12 รัฐของมาเลเซีย (ยกเว้นรัฐซาราวัก)
ฝ่ายข้างมากต้องได้เกิน 112 ที่นั่ง
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
84.84%

พรรคที่หนึ่ง
พรรคที่สอง

Dato Sri Mohd Najib Tun Razak.JPG
Anwar 980416.jpg
ผู้นำ
พรรค
ผู้นำตั้งแต่
3 เมษายน 2552
28 สิงหาคม 2551
ที่นั่งผู้นำ
ผลครั้งที่แล้ว
140 ที่นั่ง, 50.27%
82 ที่นั่ง, 46.75%
ที่นั่งที่ได้
133
89
เปลี่ยนแปลง
 7
 7
คะแนนเสียง
5,237,699
5,623,984
ร้อยละ
47.38%
50.87%
Swing
 2.89%
4.12%

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาล แนวร่วมแห่งชาติ” 13 พรรค ที่นำโดยพรรคองค์การสหมาเลย์แห่งชาติ ( อัมโน ) ของนาจิบ สามารถคว้าที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 133 ที่นั่ง จาก 222 ที่นั่ง ขณะที่พรรคแนวร่วม ปากาตัน รัคยัตหรือพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยพรรคความยุติธรรมปวงชน ( พีเคอาร์ ) ของอันวาร์ ได้ไป 89 ที่นั่ง โดยมีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนมากถึง 10 ล้านคน จากทั้งหมด 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

ทว่านาจิบถือเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2500 ที่ได้รับคะแนนนิยมประชาชนน้อยกว่าผู้สมัครจากพรรคแนวร่วมฝ่ายค้าน คือ 5.22 ต่อ 5.48 ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม ผู้นำมาเลเซียวัย 59 ปี ประกาศชัยชนะและขอให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งที่ออกมา ที่เป็นการตัดสินใจโดยบริสุทธิ์ของประชาชน เพื่อความปรองดองและสมานฉันท์ในอนาคต


ขณะที่อันวาร์ วัย 65 ปี ปฏิเสธยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมกับประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่าเต็มไปด้วยการทุจริต ดังนั้น ผลคะแนนที่ออกมาจึงไม่มีความโปร่งใส่พอ แม้ปากาตัน รัคยัต จะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 5 ปีก่อนถึง 14 ที่นั่งก็ตาม แต่ก็ต้องสูญเสียที่นั่ง 1 ใน 4 รัฐที่เคยแย่งชิงมาจากฝ่ายรัฐบาล กลับคืนไปให้นาจิบในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งนี้ มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น 13 รัฐ

ด้านนายเจมส์ ชิน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ในสิงคโปร์ แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเลือกตั้งของมาเลเซียครั้งนี้ว่า เป็นการต่อสู้กันอย่างสูสีที่สุด เนื่องจากนอกเหนือจากแรงกดดันภายนอกแล้ว ทั้งนาจิบและอันวาร์ต่างต้องเผชิญแรงเสียดทานภายในพรรคไม่แพ้กัน โดยนาจิบต้องการแย่งชิงที่นั่งที่เสียไปเมื่อปี 2551 กลับคืนมาให้ได้มากที่สุด เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นจากสมาชิกพรรค ซึ่งแม้จะทำไม่ได้ แต่อย่างน้อยพรรครัฐบาลก็ยังคงครองเสียงข้างมาก
         สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ว่า ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9 ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม แนวร่วมแห่งชาตินำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00

เพลงชาติทั่วโลก-ธงชาติทั่วโลก28.jpg

บรรดาผู้สนับสนุนแนวร่วมฝ่ายค้านต่างแสดงออกถึงความรู้สึกผิดหวังและขมขื่นกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา เนื่องจากพวกเขาคาดหมายไว้สูงว่าการเลือกตั้งคราวนี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ในประเทศแต่ผลลัพธ์คือ พวกเขาได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วในปี 2008 เพียง 7 ที่นั่งเท่านั้น
          ขณะที่ในการเลือกตั้งคราวนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงมากมายร้องเรียนว่า มาตรการสำคัญประการหนึ่งซึ่งทางการมาเลเซียระบุว่าเป็นเครื่องรับประกันว่าจะไม่มีการโกงการเลือกตั้ง อันได้แก่การให้ผู้ที่ใช้สิทธิแล้ว “พิมพ์นิ้วมือ” ด้วย “หมึกที่ไม่สามารถลบได้” เพื่อป้องกันการเวียนเทียนลงคะแนนนั้น แท้จริงแล้วหมึกดังกล่าวสามารถใช้นิ้วลบออกอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีคลิปวิดีโอ ภาพถ่าย และข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมาก ที่ยืนยันผ่านโลกออนไลน์ว่า พบ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” ชาวต่างชาติในคูหาเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับที่อันวาร์ เคยกล่าวหาก่อนวันเลือกตั้งไม่นานว่ารัฐบาลขน “ผู้ต้องสงสัย” หลายหมื่นคนซึ่งอาจเป็นชาวต่างชาติไปยังเขตเลือกตั้งหลายแห่งทั่วประเทศ
          อันวาร์วัย 65 ปีซึ่งเคยมีตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในระหว่างปี 1993-1998 และถูกวางตัวเป็น “ทายาททางการเมือง” ของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด กล่าวต่อกลุ่มผู้สนับสนุนที่เข้าร่วมชุมนุมเมื่อคืนวันพุธ (8) ณ สนามกีฬาแห่งหนึ่งนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยยืนยันจะเดินหน้าคัดค้านผลการเลือกตั้งใน 30 เขต ที่ผู้สมัครของพรรคร่วมฝ่ายค้าน “ปากาตัน รักยัต” ทั้ง 3 พรรค ประสบความพ่ายแพ้ต่อผู้สมัครของฝ่ายรัฐบาลแบบน่ากังขา โดยเขามั่นใจว่าการต่อสู้ตามแนวทางนี้มากพอที่จะก่อให้เกิดการพลิกผันของผลการเลือกตั้งได้